วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

วัดม่อนพระยาแช่

ชื่อโบราณสถาน
วัดม่อนพญาแช่ ตั้งอยู่ภูเขาสูงชื่อม่อนไก่เขี่ย เลขที่ ๒๗๙ หมู่ที่ ๑
ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง รหัสไปรษณีย์ ๕๒๐๐๐๐
โทร ๐ ๕๔๒๒ ๗๖๘๙
สิ่งสำคัญที่ขึ้นทะเบียน

เจดีย์ ๑ องค์





อายุสมัยของการก่อสร้าง






วัดม่อนพญาแช่ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๓ มีประวัติที่เกี่ยวพันกับเมืองนครเขลางค์

โดยมีตำนานท้องถิ่นที่เกี่ยวกับฤาษีที่อาศัยอยู่บนยอดเขาเขลางค์บรรพตเจดีย์องค์เดิม

ถูกทำลายเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ ๒ ปัจจุบันได้รับการบูรณะให้ดีใหม่แล้ว

ประวัติความเป็นมา / ความสำคัญ

เป็นเจดีย์เก่าแก่มากบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวเมืองลำปาง



ประกาศขึ้นทะเบียน


ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘



http://province.m-culture.go.th/lampang/cultureOfficeWebsite/datacenter/jenny/jen%2014.html

วัดพระธาตุจอมปิง



วัดพระธาตุจอมปิง




ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 บ้านจอมปิง ตำบลนาแก้ว การเดินทางนั้นใช้เส้นทางเดียวกันกับวัดพระธาตุลำปางหลวง แต่แยกซ้ายตรงที่ว่าการอำเภอไปอีก 17 กิโลเมตร วัดพระธาตุจอมปิงเป็นวัดโบราณ ตามตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนาไทย วัดนี้มีความมหัศจรรย์ของการเกิดเงาสะท้อนเป็นภาพสีธรรมชาติขององค์พระธาตุ ผ่านรูเล็กบนหน้าต่างมาปรากฏบนพื้นภายในพระอุโบสถตลอดเวลาที่มีแสงสว่างทั้งกลางวันและกลางคืน และทางวัดยังจัดที่สำหรับแสดงโบราณวัตถุต่างๆ ที่ขุดพบในบริเวณนี้ด้วย

น้ำตกแจ้





วัดไชยมงคล




ตั้งอยู่ที่ถนนสนามบิน ตำบลหัวเวียง เยื้องกับวัดป่าฝาง มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า วัดจองคา พุทธสถานที่เด่นของวัดคือ วิหารเป็น ตัวอาคารเป็นตึกสีขาว หลังคาเครื่องไม้แบบพม่า หน้าบันประดับกระจกเป็นรูปเทวดา เสาประดับด้วยลวดโลหะสีทองขดเป็นลายเครือเถา ประดับกระจกสีสวยงาม ม่านและระเบียงโดยรอบทำด้วยแผ่นไม้ฉลุฝีมือประณีต ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสำริด มีลักษณะงดงามสร้างจากเมืองมัณฑะเลย์ สหภาพพม่า

http://www.thai-tour.com/thai-tour/north/lampang/data/place/pic_chaimongkol.htm

วัดพระธาตุลำปางหลวง





วัดพระธาตุลําปางหลวง เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมที่งดงาม และมีความสําคัญทางด้านประวัติศาสตร์ วัดพระธาตุลําปางหลวงเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองลําปาง ตามตํานานกล่าวว่า มีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ราวพุทธศตวรรษที่ 13 ตัววัดตั้งอยู่บนเนิน มีบันไดนาคทอดขึ้นสู่ตัววัด


วัดพระธาตุลําปางหลวง ตั้งอยู่ที่ ต.ลําปางหลวง ห่างจากตัวเมืองลําปาง ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร ตามทางหลวงสายลําปาง-เถิน ถึงหลักกิโลเมตรที่ 586 เลี้ยวเข้าไปจนถึงที่ว่าการอําเภอเกาะคา

จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร
วัดพระธาตุลําปางหลวง มีพุทธสถานที่น่าสนใจได้แก่ วิหารหลวง ซึ่งเป็นวิหารขนาดใหญ่ เปิดโล่ง มีกู่บรรจุพระเจ้าล้านทอง เป็นประธานของพระวิหาร หลังพระวิหารมีเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่รั้วทองเหลือง


รอบองค์พระเจดีย์มีรูกระสุนปืนที่หนานทิพย์ช้างยิงท้าวมหายศปรากฎอยู่ ด้านขวาองค์เจดีย์เป็นวิหารน้ำแต้ม (แต้ม แปลว่าภาพเขียน) เป็นวิหารเปิดโล่ง ปัจจุบันภาพเขียนลบเลือนไปมาก ด้านซ้ายของพระเจดีย์เป็นวิหารพระพุทธ เป็นอาคารปิดทึบ มีพระประธานแบบเชียงแสนองค์ใหญ่อยู่เต็มอาคาร หน้าบันของวิหารพระพุทธเป็นลายดอกไม้ติดกระจกสี และพิพิธภัณฑ์ของวัด ซึ่งรวบรวมศิลปวัตถุจากที่ต่างๆ ที่หาชมได้ยาก เช่น สังเค็ดธรรมาสนเทศน์ คานหาบ ตู้พระไตรปิฎก เป็นต้น

นอกจากนี้ วัดพระธาตุลําปางหลวง ยังเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วดอนเต่า ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลําปาง ทุกปีจะมีงานประจําปีในวันเพ็ญเดือน 12

http://www.guidetourthailand.com/lampang/places-wat-phra-that-lampang-luang.php

ไม้แกะสลักบ้านหลุก




ไม้แกะสลัก บ้านหลุก ภูมิปัญญา..



แกะสลักไม้บ้านหลุก ภูมิปัญญา..แกะสลักไม้บ้านหลุก
ปลุกชีวิต?แกะสลักไม้บ้านหลุก ศิลปแห่งภูมิปัญญาชาวลำปาง
เมื่อกล่าวถึงหมู่บ้านแกะสลักไม้ที่สืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นแล้วประชาชนในจังหวัดลำปางทุกคนต้องนึกถึงบ้านหลุก ต.นาครัวอ.แม่ทะ จังหวัดลำปาง แต่หากเป็นประชาชนในต่างจังหวัด หรือต่างประเทศต้องนึกถึงบ้านถวาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ทั้งที่สินค้าที่จำหน่ายที่บ้านถวายนั้น ที่เกิดจากการรังสรรค์วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาและจินตนาการของชาวบ้านหลุกที่ไปสร้างความร่ำรวยให้กับชาวจังหวัดเชียงใหม่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าเป็นการสร้างเสริมรายได้ให้จังหวัดเชียงใหม่มีสภาพเศรษฐกิจที่ดี ในขณะที่บ้านหลุกนั้น กลับไม่ได้ยกฐานะทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้นเท่าที่ควร สินค้าขายไม่ได้ และราคาไม่ดี รวมถึงสินค้าที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นถูกผู้ขายนำไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์
นายทักษิณ อัครวิชัย ผู้อำนวยการกองแผนและงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)ลำปาง กล่าวว่า จากปัญหาดังกล่าว อบจ.ลำปาง สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่ทะ และธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาอำเภอแม่ทะ จึงได้ร่วมมือผนึกกำลังเพื่อจัดประชุมเวทีสาธารณะในหัวข้อเรื่องศูนย์แกะสลักไม้บ้านหลุกขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ประชาชนบ้านหลุก และผู้เข้าร่วมงานได้ระดมสมอง และรวมพลังกันในการวิเคราะห์ปัญหา พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไข รวมถึงเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการแกะสลักไม้กับศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดลำปางในแขนงอื่นๆ ตลอดจนเพื่อเป็นการจัดองค์ความรู้ และฐานข้อมูล ซึ่งจะทำให้เกิดแผนแม่บทของศูนย์แกะสลักไม้บ้านหลุก
ด้านนายศักดิ์ชัย จ.ผลิต นายอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง กล่าวว่า จะเห็นได้ว่าการแกะสลักไม้ของชาวบ้านหลุก ซึ่งจำหน่ายออกสู่ท้องตลาด และเป็นสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่ออย่างหนึ่ง กำลังประสบปัญหา ประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้จักบ้านหลุก ต.นาครัว อ.แม่ทะ ดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา แต่รู้จักบ้านถวาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ทำอย่างไร ที่จะทำให้ศูนย์แกะสลักไม้บ้านหลุกเป็นที่รู้จักของประชาชนทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดการสร้างสรรค์ระหว่างศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญหาท้องถิ่น แขนงอื่นๆ ที่มีอยู่ในจังหวัดลำปางกับการแกะสลักไม้ ทำอย่างไรที่จะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญหาการแกะสลักไม้ไว้ให้อยู่กับชาวบ้านหลุกต่อไป ทำอย่างไรที่จะทำให้การเดินทางเพื่อมาเยี่ยมชมศิลปะการแกะสลักไม้บ้านหลุกประสบความสำเร็จและทำอย่างไรที่จะทำการเสนอปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาไม่อยู่ในแผ่นกระดาษเพียงอย่างเดียว และนำมาใช้งานได้จริง และสุดท้ายคือจะทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดแผนแม่บทศูนย์แกะสลักไม้บ้านหลุกที่สามารถขับเคลื่อนไปได้
ดังนั้น นับเป็นผลดีที่มีการประชุมเวทีสาธารณะ เพื่อรวมพลังและระดมสติปัญญาต่าง ๆ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างกัน ซึ่งจะทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่จะพัฒนา และยกระดับศูนย์แกะสลักไม้บ้านหลุก ให้มีศักยภาพที่สามารถแข่งขันได้ และสร้างให้เกิดภาวะเศรษฐกิจที่ดีให้กับชาวบ้านในบ้านหลุก ต.นาครัว อ.แม่ทะ ต่อไป

สำหรับในการจัดเวทีสาธารณะครั้งนี้ จัดขึ้นบริเวณลานค้าชุมชนวัดบ้านหลุก ต.นาครัว อ.แม่ทะ โดยได้มีการสรุปข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกลุ่มอุตสาหกรรมแกะสลักบ้านหลุก ซึ่งได้ชี้จุดอ่อน หรือปัญหาที่เผชิญ รวมถึงสิ่งที่ประสบ เพื่อจะหาแนวทางแก้ไขทั้งหมด 9 เรื่อง

อย่างไรก็ตามในส่วนของท้องถิ่นเองได้มีการตั้งโครงการเพื่อพัฒนาศูนย์หัตถศิลป์บ้านหลุกลำปางขึ้น โดยหัตถกรรมพื้นบ้านงานช่างฝีมือแกะสลักไม้บ้านหลุก ต.นาครัว อ.แม่ทะ จังหวัดลำปาง เป็นวิชาชีพช่างที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ตราบปัจจุบันด้วยอุปสรรคปัญหาด้านวัตถุดิบอันแก่ไม้ที่เริ่มจะขาดแคลนหาได้ยากขึ้น แถมมีราคาแพง ช่างฝีมือรุ่นใหม่ๆ ไม่ค่อยเข้ามาสู่วงงานสืบทอดวิชาชีพช่างแกะสลัก รายได้ที่เป็นอยู่ปัจจุบัน อาจไม่จูงใจ ด้วยผลงานการผลิตในพื้นที่ส่วนใหญ่ถูกปลูกฝังให้ดำเนินการเป็นเพียงลักษณะงานต้นน้ำ และมักจะถูกผู้ซื้อพื้นที่ตลาดอื่นนำไปขัดเกลาตกแต่งปลายน้ำแล้วนำไปจำหน่ายได้ในราคาที่สูงกว่าเป็นทบเท่าทวีคูณ









ในแนวทางแก้ไข จำเป็นต้องจัดวางระบบการผลิตเชิงวิชาการในรูปแบบใหม่โดยสร้างกลุ่มทายาทร้านค้าผู้ผลิต และจำหน่ายไม้แกะสลัก มาพัฒนาสืบทอดต่อยอดธุรกิจไปยังงานฝีมืออื่นๆ เช่น งานปั้น งานหล่อ งานพิมพ์ ซึ่งได้แก่งานปูนปั้น เช่น รูปหล่อเทพี หรือเทพโรมันประดับตกแต่งสวน งานหล่อแบบศาลพระภูมิ งานปั้น ขึ้นแบบพิมพ์ดิน ผลิตเป็นเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่งเซรามิค งานพิมพ์งานหล่อเรซิน หล่อเทียนขี้ผึ้ง หรือมวลสารผสมอื่น โดยสามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มฝีมือช่างเกะสลักมาพัฒนาดำเนินการต่อยอดเนื้อหางานให้กว้างไพศาล พร้อมเจาะในเชิงลึกละเอียดแต่ละระดับสาขาต่อๆ ไป ไม่สิ้นสุด











โดยส่วนหนึ่งเพื่อให้ยังคงประคองรักษาตลาดงานฝีมือเดิม อันเป็นรายได้หลักในการดำเนินการจำเป็



นต้องคงปริมาณเนื้อหางานตลาดฝีมือดังกล่าวไว้ มิให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีพของกลุ่มการผลิตวิชาชีพดังกล่าว อันได้แก่การพัฒนาฝีมือเพิ่มความละเอียดสวยงามของแต่ละชิ้นงานให้สามารถเพิ่มพูนค่าราคาจำหน่าย ได้ตรงกับความต้องการของตลาดระดับบนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งต่อไปในอนาคตเชื่อว่างานฝีมือช่างต่างๆ จะค่อยๆ ปรับตัวผลิตชิ้นงานให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดเชิงคุณภาพที่เน้นความละเอียด ประณีตยิ่งๆ ขึ้นไปกว่าที่เป็นอยู่

ทั้งนี้เมื่องานถูกยกระดับด้านพัฒนาการเชิงแข่งขันจนสามารถขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรม ช่องทางโอกาสในการขยายเครือข่ายงานจำเป็นต้องเชื่อมโยงพัฒนาการต่อไปยังงานหล่อ งานพิมพ์ งานปั้น อื่นๆ ให้ไพศาลไปตามศักยภาพความพร้อมในแต่ละภาคส่วนของบรรดาพี่น้องชุมชนบ้านหลุก เพื่อให้สามารถรองรับได้ทันกับตลาดงานการผลิตอื่นๆ ในปัจจุบัน

ดังนั้นจึงเห็นสมควรเชื่อมโยงกับเครือข่ายผู้นำตลาดงานสำคัญต่างๆ ในพื้นที่อื่นโดยเฉพาะช่างฝีมืองานแกะสลักที่ละเอียดสวยงามยิ่งขึ้น ควรเข้ารับการถ่ายทอดแนะนำจากเจ้าของสถานที่บ้านร้อยอันพันอย่าง ของ อาจารย์ชรวย ณ สุนทร ตั้งอยู่บนถนนสายหางดงสันป่าตองจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีแสดงทั้งสินค้างานเครื่องปั้นดินเผาจากกลุ่มการผลิตเกาะเกล็ด จังหวัดประทุมธานี
สำหรับงานปั้น งานหล่อ งานพิมพ์อื่น สมควรเชื่อมโยงกับธุรกิจผู้ผลิตงานปูนปั้น เช่น ร้านอัศวศิลป์ ของ นายปฐมพงษ์ มั่นธนะกิจ และงานเซรามิค ของนายสุริยะพงษ์ ศรีอิ่นแก้ว ซึ่งเป็นตัวแทนธุรกิจการผลิตภายในอำเภอแม่ทะด้วยกัน หรืออาจเชื่อมโยงกับกลุ่มการผลิตที่สำคัญอื่นๆ ของจังหวัด หรือพื้นที่ใกล้เคียงอื่นๆ มาเรียนรู้ถ่ายทอดให้แก่กันตามศักยภาพ



http://www.lampang108.com/wb/read.php?tid-24.html

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

ศาลเจ้าพ่อประตูผา



ศาลเจ้าพ่อประตูผา


อ. งาว จ. ลำปาง



ข้อมูลทั่วไป - ศาลเจ้าพ่อประตูผา - ศาลเจ้าพ่อประตูผา

ศาลเจ้าพ่อประตูผา อยู่ห่างจากตัวจังหวัดลำปางตามเส้นทางสายลำปาง-งาวประมาณ 50 กิโลเมตร ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 649-650 ศาลตั้งอยู่ริมถนนใหญ่ด้านขวามือ เป็นศาลเล็กๆ ก่ออิฐถือปูน ภายในมีรูปปั้นเจ้าพ่อประตูผาและเครื่องบูชามากมาย บริเวณใกล้เคียงมีศาลพระภูมิเล็กๆ มากมายเรียงรายอยู่ ศาลเจ้าพ่อประตูผานี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ที่สัญจรไปมาบนเส้นทางนี้มักแวะนมัสการและจุดประทัดถวาย

เจ้าพ่อประตูผาเดิมชื่อ พญาข้อมือเหล็ก เป็นผู้อยู่ยงคงกระพัน เป็นทหารเอกของเจ้าผู้ครองนครลำปาง ครั้งหนึ่งได้ทำการต่อสู้กับพม่าที่ช่องประตูผาจนกระทั่งถูกรุมแทงตายในลักษณะถือดาบคู่ยืนพิงเชิงเขา ทหารพม่ากลัวจึงไม่กล้าบุกเข้าไปตีนครลำปาง ด้วยเหตุนี้เอง ชาวบ้านจึงเกิดศรัทธาและเคารพสักการะโดยตั้งศาลขึ้นบูชาเป็นที่นับถือของชาวลำปาง


www.ezytrip.com/Thailand/.../ChaoPhoPratuPhaShrine.htm

วัดศีรชุม


วัดศรีชุม


ประวัติ

ศรีชุม ในภาษาคำเมืองเหนือแปลว่า ต้นโพธิ์ วัดศรีชุม เป็นวัดพม่าที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาวัดพม่าที่มีอยู่ในประเทศไทยทั้งหมด 31 วัด สร้างในปี พ.ศ. 2436 โดยคหบดีพม่าชื่อ อูโย ซึ่งติดตามชาวอังกฤษเข้ามาทำงานป่าไม้ในประเทศไทย เมื่อตนเองมีฐานะดีขึ้นจึงต้องการทำบุญโดยสร้างวัดศรีชุมขึ้นในเขตตำบลสวนดอก



สถานที่น่าสนใจ

พระวิหาร ซึ่งเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ที่มีศิลปะการตกแต่งภายในร่วมสมัยระหว่างศิลปะล้านนาและศิลปะพม่า หลังคาเครื่องไม้ยอดแหลมแกะสลักเป็นลวดลายสวยงามมาก แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าได้เกิดเหตุเพลิงไหม้พระวิหารลงทั้งหลัง เมื่อตอนเช้าตรู่ของวันที่ 16 มกราคม2535 คงเหลืเพียงไม้แกะสลักตรงซุ้มประตูเป็นลวดลายพรรณพฤกษาฉลุโปร่ง วิหารเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ประดิษฐาน พระพุทธรูป ศิลปะแบบพม่า หลังคาเครื่องไม้ยอดแหลม แกะสลักเป็นลวดลาย บานปะตูเป็นไม้สัก ฉลุลวดลายโป่ง ภายในวิหารมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง พุทธประวัติ และ ภาพจำลองแผนผังของวัด



พระอุโบสถและพระเจดีย์ใหญ่สีทอง ภายในบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ที่อัญเชิญมาจาก ประเทศพม่า

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙



การเดินทาง วัดศรีชุมตั้งอยู่ที่ ถนนศรีชุม-แม่วะ ตำบลศรีชุม จากถนนพหลโยธินเมื่อถึงโรงเรียน บุญวาทย์วิทยาลัยแล้ว เลี้ยวซ้ายตรงสี่แยกเข้าถนนศรีชุมไปประมาณ 100 เมตร จะพบทางเข้าวัดอยู่ทางด้านขวามือ

www.tonkeian.com/index.php?lay=show&ac...Id... -